วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550

 คุณรู้จักแล้วหรือยัง?

PDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย Administrator   
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ได้ประกาศโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2550 การเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  คุณรู้จักแล้วหรือยัง? 


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ได้ประกาศโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2550 เหตุผลที่มาของกฎหมายฉบับนี้ จากเอกสารคำอธิบายพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดย นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานศาลอุทธณ์ภาค ๔  เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐรวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

การเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 โดย คุณกัมพล ศรธนะรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
       ข้อกำหนดของกฎหมายที่มีโทษทั้งจำทั้งปรับตามที่กฎหมายกำหนดไว้               • เข้าถึงระบบ หรือ ข้อมูล โดยมิชอบ โดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่มีหน้าที่
               • เผยแพร่ บอกต่อถึงมาตรการการป้องกัน
               • การแอบฟังหรือดังข้อมูลระหว่างทาง
               • ทำให้ระบบหยุดชะงัก หรือเสียหาย
               • การ post หรือ forward ข้อมูลอันเป็นเท็จ การะทบกันความมั่งคง ภาพลามก
               • การส่ง spam / phishing
               • การเผยแพร่ภาพตัดต่อ ล้อเลียน ทำให้อับอาย เสียหาย
               • การเผยแพร่เครื่องมือ ชุดโปรแกรมที่ช่วยในการกระทำผิด
               • การสนับสนุนให้มีการกระทำผิด
               • การไม่จัดเก็บ traffic data ไม่ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่
       โอกาสในการกระทำผิด               1. ประชาชนหรือพนักงานกระทำผิด
               2. องค์กรหรือผู้ให้บริการการะทำผิด
               3. ทั้งองค์กรและพนักงานการะทำผิด
       โอกาสในการกระทำผิดของประชาขนผู้ใช้ทั่วไปหรือพนักงาน
               • นำเข้าสู่ระบบข้อมูลอันเป็นเท็จ กระทบกับความมั่งคง ภาพลามก เช่น ใช้บริการ web board โดยทั่วไป post ข้อความที่ไม่มีการตรวจสอบก่อนว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ กล่าวหาผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย นึกสนุก ลองของ คิดว่าจับไม่ได้
               • Forward mail หรือ link ที่นำไปสู่ข้อความที่คนอื่น post โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง มีภาพลามกนาจาร คิดว่าส่งเฉพาะกลุ่มเพื่อนสนิทมิตรสหายคงไม่เป็นไร ทำให้ระบบทำงานผิดปกติ กระทบแบนด์วิดธ์
               • หรือการใช้บริการใดๆ ของ Web Application หรือ Internet Service ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลในกรอบของข้อนี้ ไม่ว่าจะผ่านจะเป็นบริการอย่าง Instant Messaging หรือบริการรูปแบบเดียวกับ Hi5, Yahoo Group, Youtube.com, Gmail.com แบบฟรี ฯลฯ
               • รู้ password คนอื่น แล้วไปบอกต่อ
               • รู้เห็นเป็นใจกับพนักงาน กับผู้ใช้บริการ
               • ไม่เห็นด้วยกับการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อมีการแจ้งเตือน
               • ไม่ดำเนินมาตรการการป้องกันอย่างเพียงพอ ทำให้ ถูกใช้เป็นฐานโจมตีคนอื่นโดยไม่รู้ตัว ถูกแฮกเกอร์เข้ามาใช้เป็นช่องทางในการกระทำผิด ไม่มีการตรวจสอบการเข้าใช้งานแบบไม่ประสงค์ดี
               • ไม่จัดเก็บ  traffic data
               • ไม่ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ
จากประเด็นของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้มีการจัดทำข้อมูลให้บริการเพื่อเป็นคำแนะนำให้กับประชาชนและพนักงานทั่วไป ผ่าน http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจนั้นคือ สิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรทำ ๙ ประการ ดังนี้
       การกระทำอันไม่พึงกระทำ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
               1. อย่าบอกพาสเวิร์ดของท่านแก่ผู้อื่น
               2. อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต
               3. อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งนและการเข้ารหัสลับ
               4. อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และพาสเวิร์ดที่ไม่ใช่ของท่านเอง
               5. อย่านำ user ID และพาสเวิร์ดของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
               6. อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
               7. อย่ากด “remember me” หรือ “remember password” ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ
               8. อย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security
               9. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
               10. อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเอง ไม่ว่าโดยบังเอิญ หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 
 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 รู้จักแล้วหรือยัง? ข้อมูลจาก  คอลัมน์ ENTERPRISE นิตยสาร PC magazine thailand Vol.14 No.06 โดย พูนลาภ ชัชวาลโฆษิต
<http://www.stc.ac.th/stc/index.php?option=com_content&view=article&id=53:it-law&catid=37:article-it&Itemid=58>

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 


    ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน 


รูปที่ 1.1 การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม 

    เราลองจินตนาการดูว่า  เราเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้   เมื่อตื่นนอนเราอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ  ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือสาระบันเทิง  เราใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน  ดูรายการทีวีหรือวีดิทัศน์  ระหว่างมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์  ที่ศูนย์การค้าเราขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนที่มีการควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์  ที่บ้านอาจมีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ  ทำอาหารด้วยเตาอบ  ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า  จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน 

   
รูปที่ 1.2 เครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน 

    ในอดีตยุคที่มนุษย์ไม่มีถิ่นฐานแน่นอน   มีชีวิตที่เร่ร่อน   มีอาชีพเกษตรกรรม  ล่าสัตว์  ต่อมามีการรวมตัวกันเป็นสังคมเมือง    และทำให้เกิดการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการปริมาณมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง  แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530  เป็นต้นมา  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ  ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก  การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง  ทำให้ข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว  สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดน  เพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ  ได้อย่างรวดเร็ว 

นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
    คำว่า   “เทคโนโลยี”     หมายถึง    การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ  กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ    และการนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์    เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมาย กว้างไกล  เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดเวลา 


รูปที่  1.3 วงจรรวม 

    ส่วนคำว่า “สารสนเทศ”  หมายถึง  ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์  มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  เป็นจำนวนมาก     เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่    กฎเกณฑ์และวิชาการ 


รูปที่  1.4 สื่อที่ช่วยในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร 

    ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ  การเรียกใช้  การประมวลผล  และการคิดคำนวณ  ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ  เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา  ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย  และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก  เครื่องจักร  อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์รอบข้าง  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่   ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน 
    เมื่อรวมคำว่า “เทคโนโลยี” กับ “สารสนเทศ”  เข้าด้วยกัน  จึงหมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึง  เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ  การใช้  และการดูแลข้อมูล 


รูปที่  1.5 การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม 

    เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวาง   รอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก  ดังนี้
        1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ  นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในการสอบที่มีผู้เข้าสอบจำนวนมากก็มีการใช้เดินสอดำระบายตามช่องที่เลือกตอบ  เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้  เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code)  พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องอ่านรหัสแท่งเพื่ออ่านข้อมุลการซื้อสินค้า  เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกัน  การใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล  จะเห็นได้ว่าการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากคอมพิวเตอร์สามารถเก็บได้หลายแบบ 


รูปที่ 1.6 ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยพนักงานใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่ง 

        2. การประมวลผล  ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ  เช่น  แผ่นบันทึก  
แผ่นซีดี  และเทป  ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามความต้องการ  เช่น  แยกแยะข้อมูล
เป็นกลุ่ม  เรียงลำดับข้อมูล  คำนวณ  หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บนั้น 


รูปที่ 1.7 ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยพนักงานใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่ง 

        3. การแสดงผลลัพธ์  คือการนำผลจากการประมวลผลที่ได้  มาแสดงผลลัพธ์ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ   อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์มีมาก  สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ  รูปภาพ   ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ     การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ     เสียง  และวีดิทัศน์  เป็นต้น 
  
 
รูปที่ 1.8 การแสดงผลลัพธ์ทางเครื่องพิมพ์ 

        4. การทำสำเนา  เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ  การทำสำเนาจะทำ
ได้ง่าย  และทำได้เป็นจำนวนมาก  อุปกรณ์ที่ช่วยในการทำสำเนาจัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศอีกประเภทหนึ่งที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  เรามีเครื่องพิมพ์  เครื่องถ่ายเอกสาร  อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์  เช่น  แผ่นบันทึก  ซีดีรอม  ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก 

 
รูปที่  1.9 ตัวอย่างการทำสำเนา 

        5. การสื่อสารโทรคมนาคม  เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมากๆ  ปัจจุบันมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท    ตั้งแต่โทรเลข  โทรศัพท์  โทรสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบของสื่อหลายอย่าง  เช่น  สายโทรศัพท์  เส้นใยนำแสง  เคเบิลใต้น้ำ  คลื่นวิทยุ  ไมโครเวฟ   และดาวเทียม


รูปที่  1.10 การสื่อสารโทรคมนาคม 


ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    โดยพื้นฐานของเทคโนโลยี ย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้  แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก   ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีดังนี้
        1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การทำงานรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ   ในระบบการจัดการขององค์กรทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและตัดสินใจ    ระบบธุรกิจจึงใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินการเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ  เช่น  ใช้ในระบบฝากถอนเงิน และระบบจองตั๋วเครื่องบิน
        2. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้การบริการกว้างขวางขึ้น  เมื่อมีการพัฒนาระบบเก็บและใช้ข้อมูล  ทำให้การบริการต่างๆอยู่ในรูปแบบการบริการแบบกระจาย  ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน  สามารถถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์  นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
        3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ  ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร  ประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล  ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษีซึ่งในปัจจุบันองค์กรทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 

 
รูปที่  1.11 เว็บไซต์ระบบทะเบียนราษฎร์ 

        4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยงานในชีวิตประจำวัน   
 

รูปที่ 1.12 สารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ 


ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ    ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมมีมาก  มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าวไว้ดังนี้
        1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม  เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น  มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน  เช่น  ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ  ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน  เป็นต้น 


รูปที่ 1.13 ตัวอย่างการใช้รีโมทเพื่อความสะดวกในการควบคุมโทรทัศน์ 

        2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง  แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร  ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้  มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล  การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล  นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร 
        3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน  การเรียนการสอนในโรงเรียน มีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา  จัดตารางสอน  คำนวณระดับคะแนน  จัดชั้นเรียน  ทำรายงาน  เพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน  ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น 


รูปที่ 1.14 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน 

        4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง  จำเป็นต้องใช้สารสนเทศ  เช่น  การดูแลรักษาป่า  จำเป็นต้องใช้ข้อมูล  มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม  การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ  การพยากรณ์อากาศ  การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข  การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่างๆ  การตรวจวัดมลภาวะ  ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย  ที่เรียกว่า โทรมาตร  เป็นต้น 


รูปที่ 1.15 ภาพถ่ายจากการสื่อสารผ่านดาวเทียมแสดงสภาวะพื้นดินและวัดมลภาวะ 

        5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ  กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี  อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม  มีการใช้ระบบป้องกันภัย  ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
 
  
รูปที่  1.16 เรือจักรีนฤเบศร์ 

        6. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม  การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก  ราคาถูกลง  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก  มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ  การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า  เพื่อให้ซื้อสินค้าสะดวกขึ้น 
 

รูปที่  1.17 ตัวอย่างกระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม 

        7. ความคิดและการสร้างสรรค์  เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน  และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงาน

     1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เช่น การใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์ ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มและช่องทางการสื่อสาร
     1.2 งานกระจายเอกสาร เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทเลเท็กซ์ โทรสาร ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น
     1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่าย โทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น
     1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถดำเนินงานดังกล่าวนี้ได้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ สร้างภาพ (Computer Graphic Devices) เครื่อง Scanner โทรทัศน์ และ วีดีทัศน์ เป็นต้น
     1.5 งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์ การบันทึกข้อมูลเสียงโดยใช้ Sound Blaster เป็นต้น
     1.6 งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลดิมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
    
2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม     2.1 อุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์ ได้ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบ รถยนต์ ปฏิบัติการผลิต เช่น การพ่นสี การเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ฯลฯ
     2.2 อุตสาหกรรมการพิมพ์ เช่นระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับบรรณาธิกรณ์ ตีพิมพ์ จัดเก็บ และจัดจำหน่าย และสามารถพิมพ์ข้อมูลจากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) วีดีโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วนและเทเลเท็กซ์ได้รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลเสนอภาพ (Visual Display)

3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบันการเงิน
 เช่น ธนาคาร ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน ในส่วนของงานประจำของธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ทุกสาขาสามารถเชื่อมโยงกับสาขาอื่นหรือสำนักงานใหญ่ และสามารถเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นได้

4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้าน ดังนี้
     5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) เป็นระบบที่ช่วยด้าน Patient record หรือเวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน
     5.2 ระบบสาธารณะสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน แพทย์อาจตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากตำบลอะไร มีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็กเท่าไรเพื่อที่จะได้จัดหาวัคซีนไปฉีดป้องกันได้ทันที
     5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค หลักการที่ใช้คือ เก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ให้ระเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence : AL มาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวความคิดทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนคน
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา     6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เช่น การนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน
     6.2 การศึกษาทางไกล เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ ผู้เรียนศึกษาเอง จนไปถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH) หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล (Video Teleconference)
       6.3 เครือข่ายการศึกษา เช่น บริการ ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronics Mail : E-mail ) การเผยแพร่และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็ป
     6.4 การใช้งานในห้องสมุด เช่น การค้นหาหนังสือ การจัดหนังสือ
     6.5 การใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลอง

6.6 การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัตินักเรียนนักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแนะแนวอาชีพ และการศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลของครู7. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่บ้าน เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ในแสวงหาความรู้ ใช้สื่อสารทาง Internet ใช้พิมพ์งานและจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ
 <http://27.254.3.50/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology3.htm>